สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) คืออะไร มีทางเลือกอะไรในการแก้ไข/ชดเชยบ้าง  ใครเข้าใจธรรมชาติข้อนี้ ได้ของดี ในราคาสบายกระเป๋า

รับรองได้ว่าใครที่เคยสายตาปกติมาก่อนพอเข้าสู่อายุหลักสี่ จะรู้สึกลำบาก ติดๆ ขัดๆ กับการอ่านเอกสาร อ่านไลน์ ใช้มือถือ ดูอะไรตัวเล็กๆ ไม่เห็นเหมือนแต่ก่อน ยืดมือออกไปจนสุดช่วงแขนก็ยังอ่านไม่เห็น  ภาวะนั้นเรียกว่าสายตายาวตามอายุค่ะ และมีบางคนมาด้วยอาการเวียนหัว ปวดหัว ภาพไม่โฟกัส แต่พอแก้ด้วยแว่นที่ถูกต้องแล้วหาย

สายตายาวตามอายุ เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกคนตามธรรมชาติที่ต้องทำความเข้าใจ สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการเพ่งมองใกล้ มักเริ่มตอนอายุ 38-40 ปี สายตายาวตามอายุจะมีปัญหาในการมองใกล้ เช่น อ่านหนังสือ ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือซึ่งเป็นเลนส์นูนจึงช่วยให้อ่านได้ดีขึ้น คนที่มีค่าสายตาปกติเมื่อเข้าสู่วัยสายตายาวตามอายุก็จะมีวิธีปรับค่าแว่นอ่านหนังสือ ตามอายุโดยประมาณดังนี้

ตารางแสดงอัตรากำลังแว่นตาแต่ละอายุในเกณฑ์เฉลี่ยตามทฤษฎี
อายุ (ปี) กำลังแว่นตา (diopter)
38-39 + 0.75
39-40 + 1.00
41-42 + 1.25
43-45 + 1.50
46-47 + 1.75
48-50 + 2.00
51-53 + 2.25
54-55 + 2.50
56-58 + 2.75
59-60 + 3.00

 

ดังนั้น เพื่อให้ง่ายหมอเปาขอแบ่งวิธีแก้ไข หรือเทคนิคง่ายๆ ได้คุณภาพชีวิต ปลอดภัย และสะดวกตามความชอบและความเหมาะสมกันนะคะ  ท่านลองดูว่าท่านคือคนกลุ่มใดระหว่าง 3 กลุ่มนี้

แว่นอ่านหนังสือ (Reading Glasses)

ภาพแสดงแว่นอ่านหนังสือ

กลุ่มที่ 1 ท่านที่มีสายตาปกติ หรือใกล้เคียงค่าปกติ

โดยพิจารณาจากการที่สมัยหนุ่มๆ สาวๆ ไม่ต้องพึ่งพาแว่น คอนแทคเลนส์ ก็ใช้ชวิตได้ปกติ มีสายตาปกติดี  กลุ่มนี้ท่านสามารถ เลือกซื้อแว่นตลาดนัด อันละไม่แพงใส่ได้เอง

วิธีซื้อแว่นอ่านหนังสือที่ตลาดนัด  พอท่านไปถึงแผงแว่น ให้ท่านเลือกแว่นตามตารางอายุของท่านและเบอร์ใกล้เคียง (เบอร์ติดกันจะมีค่า +/- 0.25) แล้วหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเทียบดูว่าชอบแว่นไหน ก็ซื้อแว่นอันนั้นได้เลยค่ะ ท่านจะใช้แว่นเฉพาะเวลาอ่านหนังสือ อ่านไลน์ ไม่จำเป็นต้องจ่ายแพงเพื่อตัดแว่นเพื่อแก้ค่าความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะมีบ้าง ไม่เกิดประโยชน์  แต่ยกเว้นท่านที่ต้องการความเก๋ไก๋ไฮโซก็ซื้อแว่นตัดก็ได้ค่ะ

กลุ่มที่ 2 ท่านที่มีสายตาผิดปกติ (สั้น หรือยาว หรือเอียง หรือสั้นและเอียง หรือยาวและเอียง)

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

• กลุ่ม 2.1 กลุ่มที่ต้องการลดการพึ่งพาแว่นและคอนแทคเลนส์ ทางเลือกของกลุ่มนี้

ทางที่ 1 สูตรเลสิคแก้เต็มเพื่อมองไกลชัด + ใส่แว่นอ่านหนังสือเพื่อมองใกล้ :  สูตรนี้ท่านจะลดการพึ่งพาแว่นเพื่อมองไกล ขับรถ เล่นกีฬา Adventure ได้แบบหน้าโล่ง ไม่ต้องใส่แว่น  แต่ต้องยอมรับการใส่แว่นเพื่อมองใกล้ (อย่างไรไม่ว่าสูตรไหนๆ ก็ต้องใช้แว่นอ่านหนังสืออยู่ดีจ้า)

ข้อดี :
– ได้ความปลอดภัย เกิดอุบติเหตุก็ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้
– ลดการพึ่งพาแว่น มองไกลแบบหน้าโล่งๆ ไม่มีแว่นมาบัง
– ประหยัดกว่าแว่น/คอนแทคเลนส์ (ไม่เชื่อดูการคิดคำนวณที่หมอเปาคำนวณให้ดูเป็นตารางสิ)

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ  : ยังไงๆ ก็ต้องใส่แว่นอ่านหนังสือเพื่อชดเชยสายตายาวตามอายุค่ะ ท่านจะต้องปรับแว่นตามค่าสายตายาวตามอายุที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 2-3 ปี เทียบเท่ากับแว่น 1 เบอร์ค่ะ แต่แว่นของท่านจะสามารถซื้อแว่นตลาดนัดได้ (ตามวิธีที่หมออธิบายไว้ข้างบน)

ทางที่ 2 สูตรเลสิค Monovision + เริ่มใส่แว่นอ่านหนังสือเพื่อมองใกล้ในอีก 2-4 ปีข้างหน้า

ข้อดี :
– ได้ความปลอดภัย เกิดอุบติเหตุก็ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้
– ลดการพึ่งพาแว่น มองไกลแบบหน้าโล่งๆ ไม่มีแว่นมาบัง
– ประหยัดกว่าแว่น/คอนแทคเลนส์ (ไม่เชื่อดูการคิดคำนวณที่หมอเปาคำนวณให้ดูเป็นตารางสิ)

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ  : ยังไงๆ ก็ต้องใส่แว่นอ่านหนังสือเพื่อชดเชยสายตายาวตามอายุในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าค่ะ และเมื่ออายุของคนไข้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค่าสายตามองใกล้ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอายุ ก็จะเกินค่าสายตายาวที่เผื่อไว้ (Monovision) พอถึงตอนนั้นก็ต้องใส่แว่นอ่านหนังสืออยู่ดีจ้า) ท่านจะต้องปรับแว่นตามค่าสายตายาวตามอายุที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 2-3 ปี เทียบเท่ากับแว่น 1 เบอร์ค่ะ แต่แว่นของท่านจะสามารถซื้อแว่นตลาดนัดได้(ตามวิธีที่หมออธิบายไว้ข้างบน)  หรืออาจน้อยกว่าตารางด้านบนสัก 1 สเตปเนื่องจากมีค่าบางส่วนชดเชยจากการทำ Monovision ไว้ การแก้ไขเลสิคแบบ Monovision มีความเหมาะสมกับเฉพาะบางท่านเป็นเร่องละเอียด ซับซ้อนต้องดูเป็นรายๆไปค่ะ

การทำเลเซอร์สายตา

ภาพแสดงการทำเลเซอร์สายตา

• กลุ่ม 2.2 ที่คิดว่าจะใส่แว่น/คอนแทคเลนส์ต่อไป  ทางเลือกของท่านมีดังนี้

ทางเลือกที่ 1)  ใส่แว่น 2 ชั้น

ทางเลือกที่ 2) ใส่แว่น 2 อัน

ทางเลือกที่ 3) ใส่แว่น โปรเกรสซีฟ

ทางเลือกที่ 4) ใส่คอนแทคเลนส์ Monovision

• กลุ่มที่ 3 เข้าไม่ได้กับกลุ่ม 1 และ 2 อาจเกิดจากความที่ท่านไม่เข้าใจสภาวะของตนเอง เช่น เข้าใจว่าตนเองสายตาปกติแบบกลุ่ม 1   แต่ความเป็นจริงท่านสายตาผิดปกติแบบกลุ่ม 2 เช่นนี้แนะนำพบจักษุแพทย์ หรือถ้าเอาง่ายก็ปรึกษาร้านแว่นที่คุ้นเคยกันก่อน

สำหรับท่านที่เคยมีสายตาสั้น เอียงตั้งแต่อายุน้อยและได้รับการแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ เช่น การทำเฟมโตเลสิค  เลสิคSBK  ReLex/ SMILE หรือ PRK เมื่อเข้าสู่วัยหลักสี่ ก็จะยังคงสายตายาวตามอายุนะคะ  เพราะอย่างที่เล่าให้ฟังว่า  สายตายาวตามอายุ เป็นความเสื่อของกล้ามเนื้อในการเพ่ง  พูดง่ายๆ ว่าไม่มีใครหลีกเลี่ยงภาวะชรานี้พ้น

อย่างไรก็ตามท่านที่ทำเลเซอร์แก้ไขสายตาให้เป็นปกติแล้ว  เมื่อมีสายตายาวตามอายุ ก็จะสบายหน่อย เพราะ จะมองไกลแบบหน้าโล่ง แต่การมองใกล้ต้องเข้าใจว่าจำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ชดเชยสายตายาวตามอายุเช่นเดียวกันค่ะ

ในขณะที่หากท่านไม่ได้แก้ไขสายตา เมื่ออายุ 40 ปีมีสายตายาวตามอายุ ท่านจะยังคงต้องพึ่งพาแว่น 100% ทั้งการมองไกลและการมองใกล้

และในขณะเดียวกันก็อาจมีบางท่าน ที่สมัยหนุ่มๆสาวๆ มีค่าสายตาไม่มากนัก เช่นสั้น 150 250 ท่านก็จะสามารถถอดแว่นอ่านหนังสือ มองใกล้ได้ดี หรือที่คนโบราณเรียกว่าสายตาคืน ก็อาจเป็นได้  คนไข้กลุ่มนี้ เมื่อเข้าสู่ วัย 40 ปี จะยังคงมองใกล้ได้ จนเมื่อเวลาที่อายุมากขึ้นและค่าสายตายาวเพิ่มขึ้นจนค่ามาทับพอดีกับค่าสายตาสั้น หลังจากนั้นก็จะต้องใช้แว่นอ่านหนังสือเพื่อให้มองใกล้ได้ชัดเช่นกันค่ะ  จะเป็นลักษณะ มองไกลใส่แว่น พอมอใกล้ถอดแว่นเพื่ออ่านหนังสือ

เผื่อว่าทุกท่านจะได้เทคนิคที่เหมาะกับตนเองในราคาที่ย่อมเยา สมเหตุสมผล และเกิดประโยชน์สูงสุดกับท่านคะ

ติดต่อสอบถาม-ขอคำแนะนำ-ปรึกษาปัญหา การทำเลสิคและสายตา กับ "หมอเปา"

สอบถามรายละเอียดการทำเลสิคและเลนส์เสริม (ICL)

LINE : @drpaolasik
Dr.pao ไลน์ คิวอาร์โค้ด

หรือ โทร.

รูปการ์ตูน Dr.Pao

"เพราะการดูแลและห่วงใยสายตา
ของคุณ คือหน้าที่หลักของเรา"

😊" Sujintana's Lasik Family ... by Dr.Pao "🙂

เลสิคหมอสุจินตนา (หมอเปา)
Dr.Pao โลโก้

Copyright © 2023 by drpaolasik.com
All rights reserved.